ทะเลแดงเดือด! ดันค่าระวางเรือพุ่ง 300% ต้นทุนภาคธุรกิจเพิ่มแรง

นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์ กรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการสู้รบในทะเลแดงที่ยืดเยื้อ มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 67 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังยุโรป การโจมตีเรือสินค้าที่ผ่านเส้นทางทะเลแดงโดยกลุ่มกบฏฮูตีที่ยังไม่ยุตินั้น ส่งผลให้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทขนส่งหลายแห่งต้องเดินเรืออ้อมไปยังแหลมกู๊ดโฮป จากข้อมูลล่าสุดวันที่ 25 ม.ค. 67 ค่าระวางเรือสำหรับตู้คอนเทเนอร์ในเส้นทางเอเชียไปยังยุโรปใต้ และเอเชียไปยังยุโรปเหนือ ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 300% จากปลายเดือน พ.ย. 66 ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งของผู้นำเข้าปรับสูงขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ ทำให้ยุโรปมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปนำเข้าสินค้าจากประเทศอื่นที่มีต้นทุนค่าขนส่งที่ถูกกว่าการนำเข้าจากไทยหรือเอเชีย ถือเป็นความเสี่ยงต่อการส่งออกของไทยไปยุโรปที่อาจแย่ลงมากขึ้น ซึ่งการส่งออกไทยไปยุโรป เดือน ธ.ค. 66 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน และปี 66 หดตัวติดลบ 4.2% โดยสินค้าได้รับผลกระทบ เช่น สินค้าเกษตรและอาหาร เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลงไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น ส่วนผลกระทบต่อราคาสินค้าภายในไทย คาดว่าจะไม่รุนแรง หากค่าระวางเรือไม่เร่งสูงขึ้นต่อเนื่อง และสถานการณ์คลี่คลายได้เร็ว เพราะผู้ประกอบการอาจแบกรับภาระไว้ก่อนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

น.ส.ณัฐณิชา สุขประวิทย์ นักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) กล่าวว่า การส่งออกไทยขยายตัวปี 67 ที่ 3.7% จากแรงสนับสนุนปริมาณการค้าโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลก แม้จะชะลอลงบ้างอยู่ที่ 2.5%, ภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าระหว่างประเทศจะกลับมามีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากขึ้นในปี 67, ราคาสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง เช่น ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตในตลาดโลกที่ลดลงจากภัยแล้งและนโยบายควบคุมการส่งออกสินค้าในบางประเทศ และความตกลงการค้าเสรีต่างๆ

นายวิชาญ กุลาตี นักเศรษฐศาสตร์ อีไอซี กล่าวว่า โลกเจอความเสี่ยงจากเหตุการณ์โจมตีเรือขนส่งสินค้าของกบฏฮูตีในบริเวณทะเลแดง (คลองสุเอซ) ส่งผลให้ผู้ส่งออกจากเอเชีย ต้องจ่ายค่าระวางเรือและค่าประกันภัยทางเรือเพิ่มสูงขึ้น และความแห้งแล้งของคลองปานามา ซึ่งเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก และเป็นหนึ่งในเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียและสหรัฐ คิดเป็น 5% ของการขนส่งสินค้าทางทะเลของโลก

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ประเมินการส่งออกไทยในปี 67 อาจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ 2% จากปัจจัยฐานอยู่ในระดับต่ำ มีหลายปัจจัยท้าทาย เช่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า การผันผวนของค่าเงิน สภาพอากาศที่แปรปรวน และประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ในขณะนี้ยังไม่คลี่คลายทั้งรัสเซีย-ยูเครน และอิสราเอล-กลุ่มฮามาส โดยเฉพาะความขัดแย้งในทะเลแดงที่อาจมีความยืดเยื้อและขยายวงกว้างเป็นระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

You May Also Like

More From Author